Ads 468x60px

Sample text

Social Icons

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

UploadImage
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
                ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักความร่วมมือเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 เป็นเป้าหมายในการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นสังคมที่สมาชิกมีความ ไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน มีเสถียรภาพ มีสันติภาพ และมีความปลอดภัยมากขึ้นในชีวิตและทรัพย์สิน

                การเป็นประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอันถือเป็นพื้น ฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ รวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ
                 (1) สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เช่น ค่านิยมว่าด้วยการไม่ใช้กำลังแก้ไขปัญหา และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์
                (2) เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูป แบบเดิมและรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของการมีความมั่นคงของมนุษย์ และ
                (3) ให้ประชาคมอาเซียนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค


UploadImage
                กระบวนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีรากฐานมาจากนำความร่วมมือและความตกลงของอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ที่ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็นรูปธรรมและมีความแบบแผนมากยิ่งขึ้น อาทิ ข้อบทต่างๆ ภายใต้สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาว่าด้วยการทำให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง และสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่น คงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมการประชุมกว่า 25 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน และสหภาพยุโรปด้วย


UploadImage
                นอก จากการมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมี ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างรัฐสมาชิกกับรัฐสมาชิกด้วย กันเอง ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น

ที่มา:ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น