การรวมตัวกันของประเทศสมาชิก ในกลุ่มอาเซียน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบที่ประเทศสมาชิกได้รับ ย่อมเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการร่วมกลุ่มอาเซียน
กว่า 41 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การก่อตั้งองค์กร ผลงานของอาเซียน ถือได้ว่าประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่ายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา และด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งในภาพรวม สามารถสรุปได้ดังนี้
(1) ด้านการเมืองและความมั่นคง: ความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่เกิดขึ้น อาทิ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความตกลงเพื่อสร้างอาเซียนให้เป็นเขตแห่งสันติภาพ อิสรภาพและความเป็นกลาง มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เสถียรภาพและสันติภาพของภูมิภาค รวมถึงสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี สร้างบรรทัดฐานทางการเมืองและความมั่นคงร่วมกัน (เช่น การไม่สะสมอาวุธนิวเคลียร์และการไม่ใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา) และช่วยป้องกันความแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในภูมิภาค นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการดึงดูดประเทศมหาอำนาจหลายประเทศให้เข้าร่วม หารือและมีความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงร่วมกับอาเซียน โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไก การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชียและ แปซิฟิก ซึ่งถือเป็นด้านการเมืองและ ความมั่นคงเพียงที่เชื่อมประเทศทั้งสองภูมิภาคเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งสหรัฐฯ จีน รัสเซียและสหภาพยุโรป เข้าร่วมอยู่ด้วย
(2) ความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ: อาเซียนได้วางรากฐานของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการจัดตั้งเขต การค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) และการมีความตกลงกันทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ เช่น การคมนาคม การท่องเที่ยว การเงิน และการลงทุน ทั้งนี้ ก็เพื่อเพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะ ที่เสียเปรียบ ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากราคาสินค้าในหลายรายการที่ผลิตและค้าขายภายในประเทศสมาชิกอา เซียนมีราคาลดลงถูกลง ในขณะที่มีคุณภาพดีขึ้น หรือการที่พลเมืองของหลายประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถไปท่องเที่ยวในประเทศ สมาชิกอาเซียนอื่นอีกหลายประเทศโดยไม่ต้องใช้วีซ่า เป็นต้น นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศภายนอก ภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศหรือกลุ่มประเทศที่เป็นคู่เจรจาของอาเซียน อีกด้วย
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม: อา เซียนมีความร่วมมือกันเป็นจำนวนมากในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม เช่น เรื่องการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากยาเสพติดและโรคเอดส์ การป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ต่างก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ อาทิ การมีความตกลงว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามชาติที่เกิดจากไฟป่า การมีมาตรการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาโรคซาร์ส และไข้หวัดนก และการดำเนินการเพื่อทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปลอดยาเสพติดภายในปี 2558 เป็นต้น
ในภาพรวม ไทยได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากความร่วมมือด้านต่างๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาคมีเสถียรภาพและสันติภาพอันเป็นผล จากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเดินทางเข้ามาลงทุนและท่อง เที่ยวในประเทศไทย การที่ไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนได้มากขึ้น และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง รวมถึงการมีนักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียนเดินทางยังประเทศไทยเพิ่ม มากขึ้น อันเป็นผลมาจากการมีกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน และการที่ไทยสามารถแก้ไข
ปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น โรคระบาด เอดส์ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และอาชญากรรมข้ามชาติ อันเป็นผลมาจากการมีความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน ซึ่งหากไม่มีแล้ว ก็คงเป็นการยากที่ไทยจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้โดยลำพัง
ที่มา : ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงการต่างประเทศ
http://www.mfa.go.th/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น