Ads 468x60px

Sample text

Social Icons

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

UploadImage
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
                ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักความร่วมมือเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันทางสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน เพื่อทำให้อาเซียนเป็นสังคมที่สมาชิกมีความเอื้อ-อาทรต่อกัน ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม
                ผลกระทบที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์และการขยายจำนวนสมาชิกของอาเซียนจนครบสิบ ประเทศในปัจจุบัน นำมาซึ่งความแตกต่างหรือความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียน เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้กำหนดนโยบายของประเทศสมาชิกอาเซียนริเริ่ม จัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ข้อริเริ่มว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เป็นหนึ่งในความพยายามครั้งล่าสุดที่จะแก้ไขและรับมือกับผลกระทบทางสังคมที่ เกิดจากการรวมตัวทางกันของอาเซียน และกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งทำให้อาเซียนต้องเผชิญทั้งภัยคุกคามความมั่นคงแบบดั้งเดิมและภัยคุกคาม รูปแบบใหม่ เช่น ปัญหาโลกร้อน และโรคระบาด



UploadImage
                ใน การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้การรับรองแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งจะกำหนดกรอบและกิจกรรมที่จะทำให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคม สังคมและวัฒนธรรมภายในปีเป้าหมาย 2558 โดยแผนงานฯ จะเน้นให้เกิดการส่งเสริมความร่วมมือกันของประเทศสมาชิกในด้านต่างๆ อาทิ
                (1) การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถิ่น ทุรกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม
                (2) การฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่า การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการสร้างกลไกการให้ความคุ้มครองทางสังคม
                (3) การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่นโรคเอดส์ ไข้หวัดนก และโรคซาร์ส
                (4) การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และ
                (5) การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค รวมถึงการส่งเสริมความเป็นตัวตนหรือที่เรียกว่า ‘อัตลักษณ์’ ของอาเซียน ผ่านกระบวนการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกอา เซียน อาทิ การมีกิจกรรมที่จะช่วยให้พลเมืองในประเทศสมาชิกอาเซียนเรียนรู้ประวัติ ศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกัน ดังเช่น การกำหนดให้มีรางวัลซีโรต์ หรือ “รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (S.E.A. Write หรือ South East Asian Writers Awards) ซึ่งเป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่นักเขียนของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไป ในกลุ่มประเทศอาเซียน


                ผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอา เซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมืออย่างครอบคลุมและมี ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความร่วมมือกันในด้านสังคมและ วัฒนธรรม เพื่อทำให้ประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนมีความกินดีอยู่ดีขึ้น และประเทศสมาชิกอาเซียนมีฐานะทางสังคมที่ทัดเทียมกันมากยิ่งขึ้น

ที่มา:ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก  กระทรวงการต่างประเทศ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น